วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

                    ระบบนิเวศทุกระบบจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ  คือ  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ  ซึ่งจะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต  และจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน  ทั้งในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่างๆ เป็นการให้ประโยชน์ต่อกัน  การแก่งแย่งแข่งขันกัน  เป็นศัตรูกัน  และที่สำคัญ  คือเป็นอาหารซึ่งกันและกัน  ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานแก่กันในทุกระบบนิเวศ  โดยผ่านการกินกันเป็นทอดๆ ตามลำดับ  ที่เรียกว่า  ห่วงโซ่อาหาร ( Food  Chain ) และในธรรมชาติห่วงโซ่อาหารอาจจะสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในรูปของ  สายใยอาหาร ( Food  Web ) ซึ่งเราจะแบ่งชนิดของสิ่งมีชีวิตตามบทบาทด้านอาหารได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
  1. ผู้ผลิต  ( Producer )  เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง  โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้ผลิต คือ  กลุ่มพืช  จะทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมในระบบนิเวศ
  2. ผู้บริโภค  ( Consumer )  เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  แต่จะกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้บริโภค คือ  สัตว์ต่างๆ ซึ่งแยกเป็นผู้บริโภคพืช  เช่น  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  ผู้บริโภคสัตว์  เช่น  เสือ  สิงโต  เหยี่ยว  ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์  เช่น  คน  สุนัข  แมว  นก  และผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์  เช่น  นกแร้ง  ไส้เดือนดิน  เป็นต้น
  3. ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร  ( Decomposer )  เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  แต่จะได้อาหารโดยการย่อยสลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตายลง  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายก็คือ  พวกจุลินทรีย์


ตัวอย่างห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ
                               

1. ภาวะการล่าเหยื่อ ( Predation )

                    ภาวะการล่าเหยื่อ ( Predation )  เป็นความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานเพื่อการหาอาหารของผู้ล่า  ความสัมพันธ์แบบนี้จะมีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์  เรียกว่า ผู้ล่า ( Predator ) จะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่า  อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เพราะถูกกินเป็นอาหาร เรียกว่า เหยื่อ ( Prey )  ซึ่งจะมีขนาดเล็กและอ่อนแอกว่า  เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นการแก่งแย่งกันระหว่างสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด  เช่น  แมวจับหนู  นกฮูกล่าหนู  เหยี่ยวล่ากระต่าย  นกกินหนอน  เสือล่ากวาง  เป็นต้น



                             
เสือล่ากวางเป็อาหารเป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า  ภาวะการล่าเหยื่อ

2. ภาวะปรสิต ( Parasitism )

                    ภาวะปรสิต ( Parasitism )  เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งจะได้รับประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์  โดยฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จะอาศัยอยู่ภายในร่างกายของผู้เสียประโยชน์ เรียกสิ่งมีชีวิตที่ได้รับประโยชน์ว่า ปรสิต ( Parasite ) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่เสียประโยชน์ว่า  ผู้ถูกอาศัย ( Host ) โดยปรสิตจะคอยแย่งอาหารหรือกินบางส่วนของร่างกายผู้ถูกอาศัย  เช่น  กาฝากบนต้นไม้  กาฝากเป็นปรสิต  ได้รับประโยชน์คือ  ได้รับอาหารจากต้นไม้ที่อาศัยอยู่  ส่วนต้นไม้จะเป็นฝ่ายที่เสียประโยชน์เพราะถูกแย่งอาหารไป  พยาธิใบไม่ในตับสัตว์  พยาธิไส้เดือน  พยาธิตัวตืดในลำไส้หมูและวัว  ไวรัสเอด์ในคน  โดยพยาธิใบไม้ในตับ  พยาธิไส้เดือน  พยาธิตัวตืด และไวรัสเอดส์  เป็นปรสิต  คือเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์  คอยแย่งอาหารหรือกินบางส่วนของร่างผู้ถูกอาศัย คือผู้เสียประโยชน์นั่นเอง



พยาธิใบไม้ในตับแกะเป็นปรสิตจะอาศัยอยู่ในร่างกายของผูเสียประโยชน์คือแกะ
                                     

3. ภาวะอิงอาศัย ( Commensalism )

                    ภาวะอิงอาศัย ( Commensalism )  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์  เช่น  เฟิร์น  กล้วยไม้  พลูด่าง  ที่เกาะบนผิวของเปลือกต้นไม่ใหญ่ จะใช่ต้นไม่ใหญ่เป็นแหล่งที่อยู่และให้ความชื้น  โดยไม่เบียดเบียนอาหารจากต้นไม้ใหญ่เลย  หรือเหาฉลามที่เกาะอยู่บนตัวปลาฉลาม  ก็จะอาศัยปลาฉลาดพาไปยังที่ต่างๆ และกินเศษอาหารที่เกิดจากการล่าเหยื่อของปลาฉลาด  โดยการเกาะนี้จะไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผิวของปลาฉลาดเลย เป็นต้น



กล้วยไม้ที่เกาะบนต้นไม่ใหญ่  เป็นความสัมพันธ์แบบภาวะอิงอาศัย
                           

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

4. ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน ( Protocooperation )

                    ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน ( Protocooperation ) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่ออาศัยอยู่ด้วยกัน แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายแยกตัวออกจากกันแต่ละฝ่ายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง เช่น ผีเสื้อกับดอกไม้ โดยผีเสื้ออาศัยกินน้ำหวานจากดอกไม้ และดอกไม้ได้รับประโยชน์ในการที่ผีเสื้อช่วยผสมเกสรให้ นกเอี้ยงเกาะบนหลังควาย โดยนกเอี้ยงคอยจิกกินพวกเห็บที่ติดอยู่ตามตัวควาย ส่วนควายได้รับประโยชน์คือ ไม่ต้องคอยกำจัดเห็บ ความสัมพันธ์ในภาวะเช่นนี้อังมีอื่นๆอีก เช่น มดดำกับเพลี้ย ซีแอนนีโมนีที่เกาะอยู่กับปูเสฉวน เป็นต้น



ผีเสื้อกับดอกไม้เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน

5. ภาวะที่พึ่งพากัน ( Mutualism )

                    ภาวะที่พึ่งพากัน ( Mutualism )  เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกันเมื่ออาศัยอยู่ด้วยกันเท่านั้น แต่เมื่อทั้งสอยฝ่ายแยกตัวออกจากกันก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียไรโซเบียมจะจับไนโตรเจนในอากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรตที่พืชนำไปใช้ ส่วนแบคทีเรียก็ได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่อยู่ในรากพืช   ต้นไทรกับต่อไทร โดยต้นไทรอาศัยต่อไทรช่วยในการผสมเกสรเพื่อขยายพันธ์พืช ส่วนต่อไทรอาศัยลูกไทรในการวางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อการดำเนินชีวิตต่อไป รากับสาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นไลเคน โดยสาหร่ายสารอาหารได้เองแต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ส่วนราก็อาศัยดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นกับสาหร่าย จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันเพื่อความอยู่รอด มิฉะนัน้ก็ต้องตายไป เนื่องจากฝ่ายหนึ่งขาดอาหาร อีกฝ่ายหนึ่งขาดที่อยู่อาศัย ความสัมพันธ์ในภาวะเช่นนี้ยังมีตัวอย่างอื่นๆอีก เช่น โปรโตซัวในลำไส้ปลวกกับปลวก เป็นต้น



แบคทีเรียไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ที่ปมรากถั่วเป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะที่พึ่งพากัน

6. ภาวะมีการย่อยสลาย ( Saprophytism )

                   ภาวะมีการย่อยสลาย ( Saprophytism )  เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้รับประโยชน์จากซากของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย รา เเละเห็ด เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร โดยจุลินทรีย์จะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้มีขนาดเล็กลงเพื่อดูดกลับไปใช้ในการดำรงชีวิตของมัน ซึ่งกระบวนการย่อยสลายดังกล่าวนี้จะทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยและย่อยสลายเป็นอนินทรีย์คืนกลับสู่ธรรมชาติต่อไป ตัวอย่างเช่น เห็ดที่ขึ้นบนขอนไม้ผุ โดยเห็ดจะย่อยสลายซากของไม้ผุเพื่อนำไปเป็นอาหาร ราที่ขึ้นบนซังข้าวโพด เป็นต้น


เห็ดบนขอนไม้ผุเป็นความสัมพันธ์แบบภาวะมีการย่อยสลาย